DEVELOP WEBSITE & MOBILE APPLICATION PLATFORMS FOR ALL

การตลาดยุคใหม่นอกจากเว็บไซต์ Social Media และการยิง ADS แล้ว อีกหนึ่งสิ่งสำคัญ คือ Application  ที่สามารถเข้าถึงลูกค้าได้เป็นจำนวนมาก Launch Platform จะมาไขคำตอบกันว่าแอปพลิเคชันที่ดีควรเป็นอย่างไร

กดเลือกอ่านหัวข้อที่คุณสนใจ

แอปพลิเคชัน หมายถึงอะไร

แอปพลิเคชัน (Application) หมายถึง โปรแกรมที่ถูกพัฒนาเพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งานด้านต่าง ๆ เช่น การอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน หรือเพื่อความบันเทิง เป็นต้น โดยแอปพลิเคชัน จะถูกพัฒนาขึ้นบนระบบมือถือ iOS และ Android เป็นหลัก เมื่อต้องการใช้งานจะโหลดผ่าน Google Play และ App Store นอกจากนี้ยังสามารถใช้งานบนเว็บไซต์ได้ด้วย หรือที่เรียกว่า Web Application ครับ

แอปพลิเคชัน เขียนอย่างไรตามพจนานุกรม

การสะกดคำทับศัพท์ของ Application มีหลากหลายมาก ส่วนมากจะสับสนว่าสะกดด้วย “แอพ” หรือ “แอป” 

  • คำที่เขียนผิด : แอพพลิเคชัน, แอพพลิเคชั่น, แอปพลิเคชั่น

  • คำที่เขียนถูก : แอปพลิเคชัน

อย่างไรก็ตามคำว่า “แอพพลิเคชั่น” เป็นคำที่มักนำไปใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในเว็บไซต์ และใน Social Media ต่าง ๆ แม้จะสะกดผิดก็ตาม จึงไม่แปลกที่เราจะคุ้นกับการสะกดแบบนี้มากกว่า “แอปพลิเคชัน”

ขอบคุณวิดีโอจาก : SISTERS

แอปพลิเคชันที่ดีควรเป็นอย่างไร

มีหลายอย่างที่ต้องคำนึงเมื่อจะลงมือหาทีมพัฒนาแอปมือถือ เพื่อให้แอปออกมาดี มีประสิทธิภาพที่สุด เรามีคำแนะนำให้ 8 ข้อ ที่คุณควร Checklist ดังนี้

บทความที่เกี่ยวข้อง : 5 ไอเดียทำแอปอะไรดี ต้นทุนไม่สูง ใช้งานได้จริง

1. ใช้งานได้ง่าย แม้จะเข้ามาใช้ครั้งแรก

สิ่งแรกที่ Application ควรต้องมี คือ การเข้าถึงง่าย ใช้งานได้แม้จะเข้ามาครั้งแรก โดยปกติแล้วหลังจากที่ Users โหลดแอปมือถือมาใหม่ หากมีความสนใจมากอยู่แล้วก็มักจะลองเปิดใช้งานดูแทบจะทันที กรณีนี้ถ้าแอปถูกออกแบบมาดี จะทำให้ Users ลองเล่นดูก่อน และเข้าใจระบบได้ด้วยตนเอง ส่งผลให้เกิดความประทับใจได้ตั้งแต่ครั้งแรก ในขณะที่แอปที่ใช้งานได้ยากเกินไป เข้าแอปไปแล้วมีแต่เมนู และรายละเอียดที่อัดแน่น Users หากไม่ได้ต้องการ่ใช้มากจริง ๆ ก็อาจกดออกจากแอป ไปจนถึงลบแอปทันทีก็ได้เช่นกัน

หากจะถามว่าแอปที่ใช้งานได้ง่ายสังเกตจากอะไร เราสามารถสังเกตได้จากการให้ Tester หรือกลุ่มทดสอบลองเล่นแอปครั้งแรกดู และให้แสดงความเห็นว่าใช้งานลำบากไหม เข้าแอปไปแล้วงงไหม หากแอปใช้งานได้ง่ายมาก ๆ Users จะไม่ต้องการระบบฝึกสอน (Tutorial) ซึ่งถือว่าเป็นการออกแบบแอปที่มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง

ให้ Launch Platform ช่วยดูแลการพัฒนาแอปพลิเคชันมือถือ ตั้งแต่เริ่มกระบวนการ เพื่อตอบโจทย์การใช้งานของธุรกิจคุณ

2. โหลดเร็ว ตอบสนองทันที

อีกหนึ่งปัญหาที่เรามักพบเจอในการใช้ Application คือ แอปมือถือที่มีระบบการทำงานซับซ้อน และมีข้อมูลไหลผ่านเป็นจำนวนมาก ยังไม่รวม Users ที่ใช้กันเยอะ ทำให้แอปมือถือมีการทำงานที่ล่าช้าได้ อย่างไรก็ตามแอปที่ยังไม่ได้มีผู้ใช้งานพร้อมกันมาก ๆ หากตอบสนองช้าเกินไป โดยเฉพาะการเปลี่ยนไปยังหน้าเมนูต่าง ๆ ยิ่งสะท้อนว่าระบบหลังบ้านของแอปมีการจัดการข้อมูลได้ไม่ดีพอ

การพัฒนาแอปจึงต้องทดสอบอยู่ตลอด และต้องคอยดูตลอดเมื่อมีการ Update Version ใหม่ ๆ อย่างไรก็ตามความเร็วของอินเทอร์เน็ตฝั่ง Users มีผลต่อความเร็วในการใช้งานแอป ดังนั้นในช่วงของการทดสอบ Tester จะต้องทดสอบอย่างละเอียดที่สุดเท่าที่จะทำได้ด้วย

แอปพลิเคชันที่ดีควรเป็นอย่างไร

3. นำเสนอสิ่งที่น่าสนใจให้ Users ได้ตลอด

การนำเสนอสิ่งที่มีประโยชน์ต่อ Users สำคัญมาก เช่น Facebook หรือ TikTok ที่เมื่อเราเข้าไปแล้วจะออกได้ยากมาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการทำงานหลังบ้านที่จดจำพฤติกรรมความสนใจของ Users และนำเสนอ Feed Content ของแต่ละ Users เป็นอย่างดี

สำหรับแอปมือถือทั่วไปที่ไม่สามารถปรับ Feed Content ได้เหมือนแอปดังควรทำอย่างไร? คำตอบคือ การทำ UX Research อยู่เรื่อย ๆ ว่าคนที่เข้ามาใช้งานเป็นอย่างไรบ้าง สนใจอะไรไม่สนใจอะไร เพื่อใช้สำหรับการออกแบบ UI ต่อไปในอนาคตนั่นเอง

4. เชื่อมต่อ Social Media ให้ได้มากที่สุด

หากมีคนเข้ามาใช้งานแอปแล้ว อย่าลืมที่จะทำ PR แอปของตนเองด้วยการสร้างปุ่มแชร์ไปยัง Social Media ยิ่งถ้าแอปของคุณมีระบบเนื้อหา บทความ มี Content วิดีโอที่น่าสนใจ ก็ควรต้องแชร์ออกไปสื่อต่าง ๆ ได้ด้วย หรือจะทำเมนูการติดต่อแล้วเชื่อม Social Media ทุกช่องทางที่มี เพื่อให้ติดต่อได้สะดวกที่สุดก็เป็นเรื่องพื้นฐานที่ควรทำเช่นกัน

5. แอปมือถือที่ดีควรมีขนาดเล็ก

เมื่อมีคนสนใจอยากโหลดแอปแต่เมื่อกดดาวน์โหลดแล้วเห็นแอปที่มีขนาดใหญ่หลายร้อย Mb บางแอปที่เน้นใช้งานไม่ใช่เกมก็อาจกินพื้นที่ของโทรศัพท์ไป 1Gb ได้เช่นกัน Users บางคนอาจรู้สึกไม่อยากรอโหลด ทำให้หนีไปหาแอปที่คล้าย ๆ กันของผู้ให้บริการอื่นแทน หากไม่สามารถพัฒนาแอปให้มีขนาดเล็กที่สุดได้ แนวทางที่นิยมใช้กัน คือ การลงแอปใน Store เน้นให้ขนาดน้อยมากเพียงไม่กี่สิบ Mb แต่เมื่อโหลดเสร็จแล้วกดเข้าแอป จะมีการโหลด Data เพิ่มในภายหลังนั่นเอง

อีกหนึ่งจุด คือ เมื่อเข้าแอปแล้วต้องโหลด Data ใหญ่เกินไป จนมีโอกาสทำให้ Users ปิดแอปและลบแอปทิ้งไป หลายแอปจึงเลือกที่จะนำระบบบางส่วนขึ้นมานำเสนอให้กับ Users ก่อนเสมอ เช่น Mini Game ให้เล่นสะสมคะแนน หรือเป็นหน้าแนะนำการใช้งานแอปเบื้องต้น ที่ออกแบบมาได้อย่างน่าสนใจ เป็นต้น

การทำแอปพลิเคชันดี ๆ

6. กินแบตเตอรีให้น้อยที่สุด

เคยไหมเมื่อคุณใช้แอปบางแอป เผลอไปไม่นานแบตมือถือหายไปแล้ว 10% แบบงง ๆ แอปแต่ละแอปมีการกินทรัพยากรมือถือแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับระบบของแอป ยิ่งแอปทำอะไรได้มาก ยิ่งทำให้มือถือทำงานหนัก เรื่องนี้จึงอยู่ในมุมมองของนักพัฒนาแอปมือถือว่าควรทำอย่างไร เพื่อให้แอปทำงานได้ดีที่สุด ในขณะที่ต้องกินทรัพยากรมือถือให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ด้วย

7. ดูแลแอป และพัฒนาอยู่ตลอด

อย่าลืมที่จะอ่าน Comment ใน Store ทั้งหมด เพราะ Users หลายคนเลือกที่จะไปแสดงความคิดเห็นในนั้นมากกว่าจะกดติดต่อพนักงานผ่านแอปเพื่อรายงานความผิดพลาดของระบบ ระบบการทำงานของแอปต้องพึ่งระบบปฏิบัติการของมือถือ และมือถือเองก็มีหลายรุ่น แน่นอนว่ายิ่งแอปเพิ่มระบบใหม่เข้าไป ปัญหาก็อาจเกิดกับมือถือรุ่นไหนก็ได้เช่นกัน จึงกล่าวได้ว่าแอปที่เปิดตัวออกมาจะต้องมีปัญหาให้แก้ไขอยู่ตลอด ๆ นั่นเอง

8. ความปลอดภัยของข้อมูลต้องมาก่อน

ระบบป้องกันฐานข้อมูลจะต้องได้มาตรฐานที่สุด เพราะมีข้อมูลของ Users เป็นจำนวนมากไหลเวียนอยู่ในระบบหลังบ้าน ถึงแม้จะมีคนใช้งานแอปไม่เยอะ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ อย่าลืมที่จะตรวจสอบเรื่องของ Tokens ที่ควรมีการใช้งานแยกประเภทชัดเจน และควรมีระยะเวลา Sessions ที่แตกต่างกัน หากใช้งานผ่านบนเว็บได้ จะต้องมีการทำ HTTPS ด้วย เป็นต้น

แอปที่ดี แอปปลอดภัย

แนวทางการเลือกทำแอปพลิเคชันมือถือ

การทำ Application ที่ดีมีหลายอย่างที่ต้องโฟกัส หากคุณอยากมีแอป หรือกำลังมองหาแอปสำหรับบริษัท แต่ยังไม่แน่ใจว่าควรเลือกประเภทแอปแบบไหนดี เราแนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หรือบริษัทที่รับพัฒนาแอปมือถือในเรื่องนี้ โดยปกติแล้วรูปแบบแอปที่ต้นทุนไม่สูง แต่ประสิทธิภาพสูง คือ Web Application ที่สามารถใช้งานได้ง่ายทั้งบนหน้าจอ Desktop และมือถือ นอกจากนี้ Users ไม่ต้องโหลดแอปลงเครื่องอีกด้วย

ส่วนค่าใช้จ่ายในการทำแอป หากคุณต้องการแอปประสิทธิภาพสูงจริง ๆ ส่วนมากจะไม่ต่ำกว่า 300,000 บาท อย่างไรก็ตามราคาจะแปรผันไปตามระบบที่คุณต้องการให้มีในแอป หากไม่ต้องการบางระบบจะมีราคาทำแอปถูกขึ้น หากต้องเพิ่มระบบจะทำให้มีราคาทำแอปสูงขึ้นนั่นเอง อย่างไรก็ตามหากคุณยังมีข้อสงสัย สามารถติดต่อบริษัท Launch Platform เพื่อสอบถามได้ในทันที

6 ตัวอย่างแอปพลิเคชันที่พัฒนาได้ดีน่าสนใจ และใช้ฟรี

การออกแบบแอปให้ตอบโจทย์ผู้ใช้งาน คือ การวัดว่ามีผู้คนให้ความสนใจมากแค่ไหน เกิดการบอกต่อหรือไม่ ส่วนใหญ่มักจะวัดจากจำนวนดาวน์โหลด และการรีวิวต่าง ๆ โดยเราจะยกแอปมือถือที่ทำออกมาตอบโจทย์ผู้ใช้งานเข้าขั้นคำว่า “ประสบความสำเร็จ” ดังนี้

ตัวอย่างแอปพลิเคชันมือถือที่ดี

1.Google Gemini

เป็นเครื่องมือ AI ของบริษัท Google ที่เปิดตัวออกมาโดยมีจุดเด่นที่ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ในการเรียนรู้ ทำให้ AI ตัวนี้สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว ในด้านของการหาข้อมูล และการสนทนาในรูปแบบภาษาไทยถือว่าตอบโจทย์มากกว่า ChatGPT และยังสามารถโหลดมาใช้งานได้ฟรีอีกด้วยครับ

2.CapCut

การตัดต่อวิดีโอที่ใดก็ได้โดยไม่จำเป็นต้องมีคอมพิวเตอร์ ใช้งานผ่านแอปใช้ง่าย แต่มีคุณภาพ และเป็นที่นิยมสำหรับมือใหม่นักตัดต่อ เราแนะนำให้โหลด CapCut มาใช้งาน เบื้องต้นเพียงเวอร์ชันฟรีก็สามารถใช้งานได้ดีแล้ว เพียงแต่จะติดลายน้ำของแอปมาด้วยเท่านั้น

3.Canva

นาทีคงไม่มีใครไม่รู้จัก Canva ใช่ไหมครับ เครื่องมือตัวนี้เข้ามาแก้ปัญหาคนที่อยากทำรูปภาพให้ออกมาสวย คนที่ชอบดีไซน์แต่ใช้โปรแกรมเชิงลึกไม่เป็น ปัจจุบันการใช้ฟรีก็ตอบโจทย์อย่างมากแล้ว ถึงจะจ่ายรายเดือนราคาก็ไม่แพงอีกด้วย ล่าสุดคุณสามารถดีไซน์รูปภาพผ่านมือถือได้ด้วย อย่ารอช้าที่จะลองใช้งานดูครับผมแนะนำ

4.PhotoScan

เป็นแอปสแกนเนอร์ที่ต่อยอดจาก Google Photos ด้วยการนำรูปถ่ายมาสแกนเปลี่ยนจากไฟล์ภาพในมือ ให้กลายเป็นไฟล์ดิจิทัลเพื่อนำไปใช้ต่อได้ การใช้งานสามารถใช้ได้ฟรี แถมยังใช้งานได้ง่ายอีกด้วย แต่การสแกนต้องระวังเรื่องภาพสะท้อน ที่อาจทำให้ไฟล์ไม่ค่อยสมบูรณ์นะครับ

6.Reddit

ชุมชนอะไรเอ่ยใหญ่ที่สุดในโลก? คำตอบ คือ Reddit แพลตฟอร์มนี้รองรับภาษาไทยด้วย เปรียบได้กับ Pantip แบบ Global นั่นเอง ถ้าคุณไม่อยากตกเทรนด์ หรือตกข่าวที่ไม่ใช่แค่ในไทย แต่เป็นข่าวสารทั่วโลก ควรมีแอปตัวนี้ติดไว้ในมือถือ เหมือนคำกล่าวที่ว่า “ข่าวสาร 90% เกิดขึ้นบน Reddit ก่อน”

สรุป

การพัฒนาแอปให้ออกมาดีมีองค์ประกอบมากมายหลายอย่าง หากคุณเป็นมือใหม่ต้องศึกษา และวางแผนก่อนเริ่มลงมือทำจริงให้ได้มากที่สุด เพราะขั้นตอนวางแผน คือ ตัวกำหนดทิศทางของการพัฒนาแอปทั้งหมด นอกจากนี้คุณยังสามารถเลือกให้ผู้เชี่ยวชาญอย่าง Launch Platform ช่วยดูแลได้เช่นกันครับ หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่

เลือกอ่านบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจในหัวข้อนี้:

ที่มาข้อมูล : 12


01 Aug 2024
Tags :



Writer
LAUNCHPLATFORM
Content Writer

บทความแนะนำที่เกี่ยวกับบริการ