ตอบข้อสงสัย ทำเว็บไซต์ราคาเท่าไหร่ ปี 2024 ใช้ทุนแค่ไหน?
ทำ Online Marketing เลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องทำเว็บ รู้ไหมว่าปีนี้ ทำเว็บไซต์ราคาเท่าไหร่ ควรเตรียมงบเท่าไหร่ถึงจะพอดี ราคาทำเว็บขึ้นอยู่กับรูปแบบการสร้างที่เราเลือก ภายใต้ต้นทุนที่เรามี ทำให้มีราคาตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไปเป็นอย่างต่ำ และอาจพุ่งไปถึงระดับล้านบาทได้เช่นกัน
กดเลือกอ่านหัวข้อที่คุณสนใจ
ทำเว็บไซต์ราคาเท่าไหร่ ในปี 2024 ต้องใช้ทุนแค่ไหนถึงพอ
ทำเว็บไซต์ด้วยตนเอง : ต้นทุน 3,000 - 10,000 บาท
ใช้บริการเว็บไซต์สำเร็จรูป : ต้นทุน 6,000 - 20,000 บาท
จ้าง Freelance : ต้นทุน 10,000 - 50,000 บาท
จ้าง Website Studio หรือ Agency : ต้นทุน 50,000 บาทขึ้นไป
ราคาเบื้องต้นนี้เป็นการคาดการณ์โดยประมาณเท่านั้น ราคาอาจเปลี่ยนแปลงไปตามผู้ให้บริการแต่ละราย และความต้องการระบบเว็บไซต์ของเราเองด้วย
บทความที่เกี่ยวข้อง : Web Developer คืออะไร ค่าจ้างแพงไหมในการทำเว็บไซต์
1. ทำเว็บไซต์ด้วยตนเอง
โดยทั่วไปแล้วการทำเว็บไซต์ด้วยตนเองจะต้องเตรียมค่าใช้จ่ายเบื้องต้น และต้องศึกษาหาข้อมูลเองตลอดกระบวนการสร้างเว็บ โดยมีค่าใช้จ่ายที่ต้องเตรียมไว้ ดังนี้
ค่า Domain Name : จดชื่อ Domain เปรียบได้กับการซื้อชื่อของเว็บไซต์ สามารถจดชื่อ Domain กับบริษัทในประเทศไทยโดยส่วนมากจะราคาไม่แพงอยู่ที่ 500 - 1,000 บาทเท่านั้น (ราคาต่อ 1 ปี)
ค่าเช่า Hosting : เป็นการเช่าพื้นที่เก็บข้อมูลให้กับเว็บไซต์ และเป็นที่อยู่ของเว็บไซต์ เหมือนบ้านหลังหนึ่ง ราคาขึ้นอยู่กับพื้นที่เก็บข้อมูลอยู่ที่ 1,000 - 4,000 บาท (ราคาต่อ 1 ปี)
ทั้ง 2 สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ต้องเตรียมเอาไว้ก่อน และเพียงพอต่อการเปิดเว็บไซต์แล้ว ที่เหลือก็ให้เราเลือกว่าจะทำเว็บไซต์กับเจ้าไหน เช่น WordPress, Wix หรือ GoDaddy เป็นต้น นอกจากนี้หากเราต้องการเว็บไซต์ที่สวย ๆ อาจต้องเสียค่าเครื่องมืออื่น ๆ เพิ่มเติมในแต่ละแพลตฟอร์มที่เราเลือกใช้บริการ ซึ่งมีอยู่หลายเรตราคาตามความต้องการใช้งานของเรา
ข้อดี : ราคาเริ่มต้นไม่สูง เริ่มทำได้แม้มีงบเพียง 5,000 บาท
ข้อเสีย : ใช้เวลาในการเรียนรู้ และตั้งค่านาน หากไม่จ่ายเงินเพิ่มเว็บไซต์อาจไม่สวยเท่าไหร่
ต้นทุน : 3,000 - 10,000 บาท
บทความที่เกี่ยวข้อง : ปรับปรุงเว็บไซต์บริษัทใช้เงินเท่าไหร่ ทำไมจึงควรทำตอนนี้
สนใจบริการ : รับทำเว็บไซต์ เริ่มต้นเพียงหน้าละ 3,500 บาท ออกแบบผ่าน UX/UI Designer พร้อมให้คำแนะนำด้าน SEO
2. ใช้บริการเว็บไซต์สำเร็จรูป
ในการสร้างเว็บไซต์แบบนี้จะคล้ายกับการทำเว็บไซต์ด้วยตนเอง ต่างตรงที่ผู้ให้บริการจะมีการตั้งค่าเว็บเบื้องต้นมาให้เราก่อนแล้ว เราสามารถเข้าไปจัดการข้อมูลที่จำเป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น ทำให้ร่นระยะเวลาในการ Setting เว็บไซต์ไปได้มาก นอกจากนี้ในส่วนของ Server ต่าง ๆ ทางผู้ให้บริการจะเป็นผู้ดูแลให้อีกด้วย โดยเรตราคาโดยมากจะจ่ายเป็นรายปี มีตั้งแต่หลัก 6,000 บาท และไปสูงสุดหลัก 20,000 บาท
ข้อดี : ไม่ต้องตั้งค่าเองทั้งหมด ประหยัดเวลาในการทำงาน และมีการ Support จากทีมงานโดยตรง
ข้อเสีย : มีข้อจำกัดในการปรับแต่งเว็บไซต์ ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการว่ามีเครื่องมืออะไรให้เราใช้งานบ้าง
ต้นทุน : 6,000 - 20,000 บาท
3. จ้าง Freelance
หากมีงบอยู่ในช่วงหลักหมื่นสามารถเลือกใช้บริการสร้างเว็บจาก Freelance ได้เช่นกัน โดยจะเป็นการจ้างให้ Freelance ทำเว็บให้เลย หลังจากพูดคุยตกลงรายละเอียดสิ่งที่อยากได้ และกำหนดระยะเวลาในการทำงาน หากเป็นเว็บง่าย ๆ มักจะใช้เวลาไม่เกิน 1 สัปดาห์ แต่ถ้าหากต้องการระบบในเว็บมากขึ้น จะมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น และใช้ระยะเวลาประมาณ 1 - 4 เดือน
เมื่อส่งมอบเว็บไซต์มาแล้ว Freelance มักจะมีบริการช่วยดูแลต่อเนื่อง หากพบปัญหา หรือมีการแก้ไขบางอย่างเพิ่มเติม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสัญญาที่ทั้ง 2 ฝ่ายตกลงกันด้วย
ข้อดี : ไม่ต้องเสียเวลานั่งทำเอง ลิสต์สิ่งที่ต้องการ และรับเว็บไซต์ตามกำหนดส่งงาน
ข้อเสีย : หากเกิดปัญหา หรือต้องการเพิ่มระบบในภายหลัง มีความเสี่ยงที่จะต้องเสียเงินในการจ้าง Freelance เข้ามาแก้ไขให้
ต้นทุน : 10,000 - 50,000 บาท
4. จ้าง Website Studio หรือ Agency
ส่วนมากหากมาจนถึงจุดนี้ จะเป็นการทำเว็บไซต์ขนาดใหญ่ หรือมีระบบบางอย่างเฉพาะ มักเป็นเว็บไซต์สำหรับธุรกิจ หรือบริษัทที่ต้องการปรับแต่งเว็บไซต์มากที่สุด เป็นเอกลักษณ์ที่สุด โดยจะมีรายละเอียดในการจัดการเว็บไซต์สูงตามต้นทุนที่มี และใช้เวลาในการพัฒนาหลายเดือนอย่างแน่นอน ควรจ้างบริษัทออกแบบเว็บไซต์
ข้อดี : สามารถสร้างระบบที่ซับซ้อนได้ และถือเป็นการพัฒนาเว็บที่มีคุณภาพที่สุดช่องทางหนึ่ง
ข้อเสีย : มีราคาที่สูงมาก เหมาะกับบริษัทที่มีต้นทุน ไม่เหมาะสำหรับตัวบุคคล
ต้นทุน : 50,000 บาทขึ้นไป
เลือกทำเว็บไซต์แบบไหนให้เหมาะกับธุรกิจของคุณ
เนื่องจากประเภทเว็บไซต์มีอยู่หลายประเภท ตามรูปแบบการใช้งาน แต่ละแบบจะเหมาะกับการเลือกใช้บริการทำเว็บไซต์ที่แตกต่างกัน โดยเราจะยกตัวอย่างประเภทเว็บไซต์ที่สามารถพบเจอได้มากที่สุดในประเทศไทย พร้อมเหตุผลว่าทำไมจึงควรทำเว็บไซต์กับใคร ได้แก่
เว็บไซต์บริษัท (Business/Corporate Website) : เหมาะกับการเลือกใช้บริการทำเว็บกับ Website Studio หรือ Agency ที่มีความชำนาญโดยเฉพาะ เนื่องจากเว็บไซต์บริษัทจะต้องมีระบบหลังบ้านที่ซับซ้อนกว่าปกติ หรือการวางระบบการใช้งานเฉพาะในหลาย ๆ ด้าน และจำเป็นต้องสามารถ Tracking งานได้ตลอด ทำให้ไม่เหมาะหากใช้บริการเว็บสำเร็จรูป หรือช่องทางอื่น ที่จะถูกจำกัดระบบพัฒนามากเกินไป
เว็บไซต์สำหรับขายของ หรือธุรกิจขนาดเล็ก (E-Commerce Website) : สามารถใช้บริการทำเว็บกับใครก็ได้ทั้งแบบสำเร็จรูป, ทำกับ Freelance, ทำเว็บกับ Website Studio หรือ Agency ไปจนถึงการทำเว็บด้วยตนเอง เนื่องจากขอบเขตในการพัฒนาไม่มากเท่ากับเว็บไซต์บริษัท และเว็บขายของสามารถเข้าถึงได้ง่ายมากในปัจจุบัน ไม่ได้ทำยากเหมือนเมื่อก่อนแล้ว จึงขึ้นอยู่กับงบประมาณ และเวลาที่คุณมีมากกว่า
เว็บไซต์ประเภทบทความ (Blog Website) : ควรทำเว็บด้วยตนเอง หรือสมัครใช้งานเว็บไซต์สำเร็จรูปก็เพียงพอแล้ว เนื่องจากเว็บไซต์ที่ใช้สำหรับทำ Blog หรือบทความไม่จำเป็นจะต้องมีระบบที่ซับซ้อน แต่เน้นให้เครื่องมือการเขียนบทความมีครบถ้วน สามารถทำ SEO ได้ก็เพียงพอแล้ว
หากคุณต้องการเว็บไซต์ที่มีระบบเชิงลึกสูงมาก ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ประเภทไหนควรจ้างบริษัทมาทำ เพราะน่าเชื่อถือกว่ามาก และยืนยันได้ว่ามีประสบการณ์โดยตรง ในทางตรงกันข้ามหากคุณไม่ได้ต้องการเว็บที่ซับซ้อนอะไร ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องถึงขั้นจ้างบริษัททำก็ได้ ดังนั้นคุณจึงต้องตอบตนเองให้ได้ก่อนว่า คุณต้องการเว็บไซต์ที่มีระบบซับซ้อนแค่ไหน และมันคุ้มค่าไหมที่คุณจะจ่ายเพื่อพัฒนาเว็บไซต์นั้น
บทความที่เกี่ยวข้อง : 30 ตัวอย่าง Web Design ไอเดียออกแบบหน้าเว็บ 2024
ระวังต้นทุนอื่น ๆ นอกเหนือจากการสร้างเว็บไซต์
หากคุณกำลังพิจารณาการสร้างเว็บไซต์ และมีต้นทุนจำนวนหนึ่ง อย่าเสี่ยงเลือกแนวทางที่เสมอต้นทุนโดยเด็ดขาด เช่น ถ้าคุณมีเงินทุน 30,000 บาท ไม่ควรใช้ทั้งหมดจ่ายเพื่อทำเว็บไซต์ เพราะเว็บไซต์เป็นหน้าร้านที่รอรับผู้ใช้งาน หรือลูกค้า แต่การจะมีตัวตน จำเป็นที่จะต้องมีค่าใช้จ่ายในการทำการตลาด หรือเครื่องมืออื่น ๆ ด้วย เป็นต้น ดังนี้
ค่าการตลาด : เราสามารถกำหนดได้เอง หากสามารถทำได้เองจะประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่า แต่ต้องเสียเวลาในการเรียนรู้ ลองผิดลองถูกจนกว่าจะเจอแนวทางที่เหมาะกับเรา ในขณะเดียวกันยังสามารถจ้างผู้อื่น หรือบริษัทให้เข้ามาดูแลแทนเราเองได้ แต่จะมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่ามาก ค่าใช้จ่ายประมาณ 5,000 บาทขึ้นไป และสูงสุดที่หลักล้านบาท
ค่า Tools : การทำเว็บไซต์อาจจำเป็นจะต้องจ่ายเงินสำหรับเครื่องมือที่นำมาช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพที่มากขึ้น เช่น เครื่องมือในการหา Keyword สำหรับเว็บไซต์อย่าง Ahrefs หรือ Ubersuggest เป็นต้น
ค่าจ้าง Update ภายหลัง : กรณีที่ไม่ได้ทำเว็บไซต์ด้วยตนเอง ภายหลังเว็บไซต์ออกไปพักใหญ่ หากเราต้องการเพิ่มเติมระบบ พัฒนาระบบใหม่ขึ้นมา จะมีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้อย่างแน่นอน และถือเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่น้อยอีกด้วย ตามความยากง่ายของระบบที่เราต้องการ
สรุปทำเว็บราคาถูก ต้นทุนน้อย VS ทำเว็บราคาแพง ต้นทุนสูง
เว็บราคาถูก 3,000 - 40,000 บาท : รองรับการใช้งานที่จำกัด มีระบบ และเครื่องมือในระดับพื้นฐานที่ต้องการใช้งานหากงบสูงขึ้น แต่หากต้องการที่จะแก้ไขเว็บไซต์ใหม่ในภายหลัง หรือมีปัญหาหลังการใช้งานหลังหมดสัญญา จะต้องทำการติดต่อแก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งจะทำให้มีค่าใช้จ่ายตามมา
เว็บราคาแพง 50,000 บาทขึ้นไป : สามารถเพิ่มระบบเฉพาะที่มีความซับซ้อนจากมาตรฐานเดิมได้ตามต้นทุนที่มี ไม่ต้องใช้เวลาในการพัฒนาเอง ผู้พัฒนาส่วนใหญ่มีประสบการณ์ที่สูงเป็นมืออาชีพ แต่ด้วยต้นทุนจึงไม่เหมาะสำหรับทุกคน นอกจากบริษัท
ขอบคุณวิดีโอจาก : Thai Winner by Tiger Rattanaruengyot
จำเป็นต้องจ่ายแพงเพื่อสร้างเว็บไซต์หรือไม่
ไม่ว่าคุณจะเป็นคนที่มีต้นทุนสูงมากแค่ไหน อาจต้องระวังเรื่องค่าใช้จ่ายให้ดี ก่อนตัดสินใจใช้บริการสร้างเว็บไซต์ในปี 2024 ให้ทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
เริ่มจากการวางระบบที่ตนเองต้องการก่อนเสมอ ทั้งระบบพื้นฐานทั่วไป และระบบที่มีความซับซ้อนเพื่อตอบโจทย์ธุรกิจของตนเองทั้งตอนนี้ และในอนาคต
ประมาณต้นทุนส่วนหนึ่งเหลือเอาไว้สำหรับทำการตลาด หรือค่าเครื่องมือต่าง ๆ
ทำการตรวจสอบผู้ให้บริการต่าง ๆ ว่ามีใครที่สามารถตอบโจทย์ในการสร้างเว็บไซต์ของเราอย่างครอบคลุมบ้างหรือไม่
นำผู้ให้บริการทั้งหมดมาเปรียบเทียบทั้งราคา, ประสบการณ์ รวมถึงรูปแบบการให้บริการที่มีความเหมาะสมกับตัวเรา
พูดคุยรายละเอียดให้ชัดเจน และวางกำหนดการส่งงาน พยายามติดตามงาน รวมถึงช่วงทดสอบระบบ ควรทดสอบให้เต็มที่ ลองใช้ทุกระบบที่มีภายในเว็บไซต์
ทำเว็บไซต์ใหม่ด้วย Domain Name เดิมได้หรือไม่
หากคุณต้องการทำเว็บไซต์ใหม่ (ที่ไม่ใช่การเพิ่มเว็บแยกใหม่ออกมา) แต่ยังต้องการใช้ Domain Name เหมือนเดิม เนื่องจากเป็นชื่อของแบรนด์ คุณสามารถทำได้ ทั้งการทำเว็บไซต์ใหม่ทั้งหมดด้วยระบบปฏิบัติการเดิม แต่เป็นการออกแบบใหม่ และการย้ายระบบปฏิบัติการไปใช้แบบอื่นก็สามารถทำได้เช่นกัน ตราบใดที่ Domain Name นั้น ๆ ยังไม่หมดอายุ และคุณเป็นเจ้าของอยู่ ดังนั้นควรตรวจสอบระยะเวลาของอายุที่เหลืออยู่ก่อนจะทำเว็บไซต์ใหม่จึงจำเป็นมาก ๆ อย่างไรก็ตามหากต้องการย้ายไปใช้ระบบปฏิบัติการอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ระบบทำเว็บไซต์แบบเดิมที่เคยใช้อยู่ การย้ายข้อมูลส่วนนี้สำคัญมาก เราไม่แนะนำให้ดำเนินการเอง ควรให้ผู้เชี่ยวชาญทำแทนเท่านั้น แต่ถ้าหากคุณต้องการทำเว็บไซต์แยกออกมาเป็นเว็บไซต์ที่ 2 ไม่ใช่การทำใหม่จากเว็บไซต์เดิม ในส่วนนี้คุณจะไม่สามารถใช้ชื่อเดิมซ้ำได้ จำเป็นที่จะต้องไปจดชื่อใหม่ และชำระเงินเป็นรายปีเหมือนเดิม
ทำไมควรให้ Launch Platform ทำเว็บไซต์ให้?
ปัญหาในการทำเว็บไซต์สำหรับธุรกิจ หรือบริษัทอย่างหนึ่ง คือ การที่ต้องการให้เว็บของตนเองมีระบบซับซ้อนมาก ๆ ที่ทำได้ยาก แต่จำเป็นต้องใช้ หรือมีไอเดีย แต่ไม่สามารถดึงออกมาเป็นระบบจริง ๆ ได้ สำหรับ Launch Platform มีความถนัดในการพัฒนาระบบที่ซับซ้อน และสามารถเปลี่ยนไอเดียของคุณให้กลายเป็นระบบที่ใช้งานได้จริงบนเว็บไซต์ พร้อมติดตามการใช้งาน และให้คำปรึกษาในการใช้งานได้เป็นอย่างดี
การสร้างเว็บไซต์ถือเป็นสิ่งพื้นฐานสำหรับการตีตลาดออนไลน์ในยุคนี้ไปแล้ว สามารถเลือกสร้างเว็บภายใต้ต้นทุนที่ตนเองรับไหว สำหรับบริษัทสามารถเลือกใช้บริการของ Launch Platform เพื่อให้ได้เว็บไซต์ที่มีความหลากหลาย และรองรับการใช้งานหลายรูปแบบมากกว่าได้ที่นี่
เลือกอ่านบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจในหัวข้อนี้: