DEVELOP WEBSITE & MOBILE APPLICATION PLATFORMS FOR ALL

ทำไม PDPA ถึงสำคัญ ? ในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น การรวบรวม และนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้เป็นเรื่องปกติ แต่การกระทำเหล่านี้ต้องอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย PDPA เพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลของคุณจะได้รับการดูแลเป็นอย่างดี และคุณมีสิทธิที่จะควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลของคุณเอง บทความนี้ Launch Platform จะพาคุณไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับ PDPA คืออะไร  อย่างง่าย ๆ เพื่อให้คุณรู้จักสิทธิของคุณ และสามารถปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพค่ะ ตามไปอ่านบทความนี้กันเลยค่ะ

กดเลือกอ่านหัวข้อที่คุณสนใจ

PDPA คืออะไร ? 

PDPA คืออะไร PDPA นั้นจะย่อมาจาก Personal Data Protection Act หรือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน และกำหนดให้ผู้ที่เก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องในการจัดการข้อมูลดังกล่าวอย่างปลอดภัย และมีความโปร่งใส ซึ่งกฎหมายนี้ได้เริ่มบังคับใช้อย่างเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2565 ค่ะ

ขอบคุณวิดีโอจาก : Spring News

กฎหมาย PDPA สำคัญอย่างไร ? 

กฎหมาย PDPA นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งในยุคที่ข้อมูลส่วนบุคคลกลายเป็นทรัพย์สินที่มีค่ามาก ซึ่งการคุ้มครองข้อมูลเหล่านี้ไม่เพียงแต่เป็นการปกป้องสิทธิของบุคคล แต่ยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในระบบดิจิทัลโดยรวมอีกด้วยค่ะ

ถ้าคุณสนใจเรื่อง PDPA : อย่ามองข้ามบทความนี้ : 

1. การคุ้มครองสิทธิของบุคคล

PDPA ช่วยปกป้องสิทธิของเจ้าของข้อมูลโดยตรง เช่น สิทธิในการเข้าถึงข้อมูล, แก้ไข, ลบ หรือคัดค้านการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งทำให้บุคคลสามารถควบคุมข้อมูลของตนเองได้มากขึ้น และป้องกันการถูกนำข้อมูลไปใช้ในทางที่ผิดค่ะ

2. การสร้างความโปร่งใสในการเก็บข้อมูล

กฎหมาย PDPA กำหนดให้ธุรกิจ และองค์กรต้องแจ้งให้ผู้ใช้ทราบถึงวิธีการเก็บ และการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลอย่างโปร่งใส ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถตัดสินใจได้ดีขึ้นว่าเขาต้องการให้ข้อมูลของตนถูกเก็บหรือไม่ค่ะ

3. การปกป้องข้อมูลจากการรั่วไหลหรือการละเมิด

PDPA กำหนดให้ผู้เก็บข้อมูลต้องมีมาตรการรักษาความปลอดภัยในการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลจากการถูกเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงจากการรั่วไหลของข้อมูลที่อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของข้อมูลได้ค่ะ

PDPA คืออะไร

4. การเสริมสร้างความเชื่อมั่นของผู้บริโภค

เมื่อธุรกิจปฏิบัติตามกฎหมาย PDPA อย่างเคร่งครัด จะทำให้ผู้บริโภคเชื่อมั่นในความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล ส่งผลให้เกิดความไว้วางใจในการใช้บริการ หรือผลิตภัณฑ์นั้นได้ค่ะ

5. การป้องกันการละเมิดข้อมูล

สำหรับกฎหมาย PDPA นั้นจะมีบทลงโทษที่ชัดเจนสำหรับผู้ที่ละเมิดกฎหมาย เช่น การเก็บข้อมูลโดยไม่ได้รับความยินยอม หรือการใช้ข้อมูลโดยไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่แจ้งไว้ ซึ่งช่วยให้การปฏิบัติตามกฎหมายเป็นไปอย่างจริงจัง และป้องกันการละเมิดข้อมูลค่ะ

6. ส่งเสริมการทำธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ

การปฏิบัติตาม PDPA จะช่วยให้ธุรกิจมีแนวทางที่ชัดเจนในการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลอย่างรับผิดชอบ สร้างความน่าเชื่อถือ และช่วยให้ธุรกิจลดความเสี่ยงจากการฟ้องร้องหรือการถูกดำเนินคดีทางกฎหมาย

7. การปรับตัวในยุคดิจิทัล

ในยุคที่ข้อมูลถูกเก็บ และใช้ในระบบดิจิทัลมากขึ้น กฎหมาย PDPA จะช่วยให้องค์กร และธุรกิจสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลง และการเติบโตของเทคโนโลยีได้อย่างมีระเบียบ และไม่ละเมิดสิทธิของผู้ใช้ข้อมูลค่ะ

8. การสร้างมาตรฐานในระดับสากล

PDPA จะช่วยส่งเสริมให้ประเทศไทยมีมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล เช่น GDPR ของยุโรป ซึ่งเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในระดับโลกสำหรับการทำธุรกิจระหว่างประเทศค่ะ

ปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล PDPA

กฎหมาย PDPA คุ้มครองข้อมูลอะไรบ้าง

กฎหมาย PDPA นั้นจะครอบคลุมข้อมูลส่วนตัวของเราแทบทุกประเภทที่สามารถระบุตัวเราได้ ตัวอย่างเช่น

1. ข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป

ข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไปที่สามารถระบุตัวตนของบุคคลได้ เช่น ชื่อ, ที่อยู่, เบอร์โทรศัพท์, อีเมล, หรือหมายเลขประจำตัวประชาชน

2. ข้อมูลพิเศษ (Sensitive Personal Data)

ข้อมูลที่อาจทำให้เกิดความเสี่ยงหากถูกเปิดเผย เช่น เชื้อชาติหรือชาติพันธุ์, สถานภาพการสมรส, ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ, ข้อมูลทางการศึกษาหรือการเงินที่ละเอียดอ่อน, ข้อมูลทางอาชีพหรือประวัติอาชญากรรม หรือข้อมูลทางเพศ เช่น การตั้งครรภ์, ความเป็นเพศที่สาม เป็นต้น

3. ข้อมูลทางการติดต่อ

ข้อมูลที่ใช้ในการติดต่อกับบุคคล เช่น หมายเลขโทรศัพท์, ที่อยู่, อีเมล หรือข้อมูลโซเชียลมีเดียที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อนั่นเองค่ะ

4. ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงาน เช่น ประวัติการทำงาน, ตำแหน่งงาน, รายได้ หรือประวัติการฝึกอบรม เป็นต้น

กฎหมาย PDPA

5. ข้อมูลจากการใช้บริการออนไลน์

ข้อมูลที่ได้จากการใช้งานเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชันต่าง ๆ เช่น ข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์, ข้อมูลการใช้งานแอปมือถือ, คุกกี้ หรือข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานออนไลน์ค่ะ

6. ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมทางการเงิน

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมการเงิน เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต, หมายเลขบัญชีธนาคาร, หรือข้อมูลการชำระเงินที่ใช้ในการซื้อสินค้า หรือบริการค่ะ

7. ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและการฝึกอบรม

ข้อมูลการศึกษาของบุคคล เช่น ประวัติการศึกษา, ผลการเรียน หรือประสบการณ์การฝึกอบรมค่ะ

8. ข้อมูลทางเทคโนโลยี

ข้อมูลที่เกิดจากการใช้งานอุปกรณ์ดิจิทัล เช่น ข้อมูลจาก GPS, ข้อมูลการเข้าถึงแอปพลิเคชัน หรือข้อมูลที่เก็บในคลาวด์ค่ะ

สรุป

PDPA เป็นกฎหมายที่สำคัญมากสำหรับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา องค์กร หรือหน่วยงานภาครัฐ การทำความเข้าใจและปฏิบัติตาม PDPA จะช่วยให้เราสามารถปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างความมั่นใจในการใช้บริการต่าง ๆ ในยุคดิจิทัลได้ค่ะ

เลือกอ่านบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจในหัวข้อนี้:

ที่มาข้อมูล : 

  1. cookieinformation : What is the Thailand PDPA?

  2. dpocentre : What is a DPA and why do you need one?


09 Jan 2025
Tags :



Writer
LAUNCHPLATFORM
Content Writer

บทความแนะนำที่เกี่ยวกับบริการ